Monday, April 9, 2018

รับหิ้วของจากญี่ปุ่น ง่ายๆ ใครก็ทำได้ (จริงเหรอ?)


ตั้งแต่มีประกาศ ญี่ปุ่นยกเว้นวีซ่าเข้าประเทศให้กับคนไทย 
สามารถพำนักในประเทศญี่ปุ่นได้ 15 วัน ส่งผลให้บริการรับหิ้วของจากญี่ปุ่นคึกคักมากกว่าเดิม หลายคนมองเห็นโอกาส ไปเที่ยวแล้วรับหิ้ว พอให้มีรายได้เป็นค่าของฝากหรือค่าตั๋วเครื่องบิน หิ้วไปหิ้วมาจนกลายเป็นอาชีพหลักก็มี

สำหรับคนที่กำลังส่อง ช่องทางสร้างรายได้  “แม่ค้าสายหิ้ว” 
แต่ยังกลัวๆ กล้าๆ หรือเพิ่งเริ่มทำ แวะอ่านบทความนี้ก่อน จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ว่าจะหยุด หรือ ลุย !!




10 ข้อต้องรู้ ก่อนเข้าสู่วงการ “รับหิ้วของจากญี่ปุ่น” มืออาชีพ

  1. ของที่เราเห็นแม่ค้าเจ้าอื่นๆ ขายดีเทน้ำเทท่า จนของไม่พอขาย ไม่ได้หมายความว่า เราจะขายดีด้วย เราต้องสร้างกลุ่มลูกค้าของเราเองก่อนที่จะไปหิ้วของมาขาย

  2. ของบางอย่างที่ขายดีมาก ลูกค้าฝากหิ้วเยอะ แต่น้ำหนักมาก หิ้วเหนื่อย ขายถูก ได้กำไรน้อย ต้องคิดให้รอบด้านก่อนหิ้วเข้ามาขาย

  3. การเดินทางในญี่ปุ่น มีค่าใช้จ่ายสูง วางแผนให้ดีก่อนรับหิ้ว ว่าจะไปที่ไหนบ้าง บางร้านอยู่ไกล ต้องนั่งรถไฟหลายต่อ เสียทั้งเวลาและค่าเดินทาง คำนวณให้ดีว่าคุ้มหรือเปล่า

  4. หากสินค้าที่ลูกค้าต้องการ มีขายใน eMarketplace เช่น Amazon, Rakuten หรือ Yahoo shopping แนะนำให้สั่งออนไลน์ได้เลย แล้วให้ไปส่งยังที่พักในญี่ปุ่น ช่วยประหยัดเวลาและค่าเดินทาง ไม่หิ้วเหนื่อยอีกด้วย

  5. สำรวจสินค้านำเข้าญี่ปุ่นที่มีขายในไทยแล้ว นร้าน Tsuruha, Matsumoto Kiyoshi และร้านนำเข้าสินค้าในกลุ่มที่สนใจหิ้วเข้ามาขาย เพื่อเปรียบเทียบราคา และศึกษาเทรนด์ความต้องการของลูกค้า





6. ภาษีนำเข้า ตอนหิ้วของกลับเข้าไทย หากหิ้วมาจำนวนมากเกินกว่าที่จะใช้ส่วนตัว ต้องสำแดงเพื่อจ่ายภาษีที่ช่องแดง หรือใช้บริการชิปปิ้งขนส่งจากญี่ปุ่นกลับไทย เพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรให้เรียบร้อย ไม่ต้องหิ้วกลับมาเอง ให้ใจหวิว~


7. การคำนวณค่าบริการหรือค่าหิ้ว แม่ค้าแต่ละเจ้ามีวิธีคิดแตกต่างกัน แต่รวมๆแล้ว ราคาจะใกล้เคียงกัน หากไม่อยากเข้าร่วมสงครามราคา แนะนำให้หนีไปขายสินค้ากลุ่มนิชมาร์เก็ต (Niche Market) ตลาดเฉพาะกลุ่ม ซื้อน้อย แต่จ่ายหนัก 







8. แม่ค้าควรเก็บเงินลูกค้าอย่างน้อย 50% หรือเต็มจำนวน จากลูกค้าที่ฝากหิ้ว จะได้ไม่ต้องสำรองจ่าย หรือแบกภาระหนัก กรณีลูกค้าฝากหิ้วแล้วเงียบหาย อ่าน Line แต่ไม่ตอบ

9. ศึกษากฎระเบียบการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าให้ดี ผู้ที่นำของติดตัวเข้ามาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นของต้องห้าม ต้องกำกัด (ควบคุมไว้เฉพาะ) ต้องเสียค่าปรับ หรือ ถูกริบของ

10. ไปเที่ยวญี่ปุ่น หิ้วของฝากก็เหนื่อยแล้ว แต่ถ้ารับหิ้วด้วย หนักและเหนื่อยยิ่งกว่า รักจะเป็นแม่ค้าสายหิ้ว ต้องถึกทน เดินทางในญี่ปุ่นสะดวกก็จริง แต่เดินเท้าไกลมาก(มาก) ต้องใจรักและสตรองเบอร์ไหน ถามใจเธอดู  >^^<



No comments:

Post a Comment